1. ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Nursing Science Program
2. ชื่อปริญญา
ภาษาไทย : (ชื่อเต็ม) พยาบาลศาสตรบัณฑิต
ภาษาไทย : (ชื่อย่อ) พย.บ.
ภาษาอังกฤษ : (ชื่อเต็ม) Bachelor of Nursing Science
ภาษาอังกฤษ : (ชื่อย่อ) B.N.S.
3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
จำนวน 166 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
4.1 รูปแบบ หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560 และ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558
4.2 ประเภทของหลักสูตร เป็นหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพ
4.3 ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย
4.4 การรับเข้าศึกษา รับนักศึกษาที่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ทั้งการพูด อ่าน และเขียน
4.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
4.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาพยาบาลศาสตรบัณฑิตเพียงสาขาวิชาเดียว
ปรัชญาการศึกษา มทส.
ปรัชญาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เน้นการพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทั้งทางด้านวิชาชีพและวิชาพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเป็นบัณฑิต ทางด้านวิชาชีพจะต้องเน้น ปัจจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Technoware) คือ ความรู้ความสามารถในเทคโนโลยีแขนงต่าง ๆ ส่วนทางด้านวิชาพื้นฐานจะต้องเน้นปัจจัยมนุษย์ (Humanware) คือ ความรู้ความสามารถโดยทั่วไปฐานะมนุษย์ผู้ใช้เทคโนโลยี ปัจจัยข่าวสาร (Infoware) ความสามารถในการรับ-ส่งข่าวสารข้อมูลด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และปัจจัยองค์กร (Orgaware) ความสามารถทางการจัดการองค์กรเพื่อรองรับการพัฒนาเทคโนโลยี
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มีความเชื่อว่า การพยาบาลคือการนำองค์ความรู้ วิจัย นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาพัฒนาสุขภาพอย่างยั่งยืน การจัดการศึกษาเพื่อให้บรรลุการพยาบาลข้างต้นจึงจัดการเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการแก้ปัญหา ส่งเสริมให้ผู้เรียนมองเห็นโอกาสและลงมือกระทำ เพื่อให้บัณฑิตมีแนวคิดของความเป็นผู้ประกอบการที่มีภูมิรู้ ภูมิธรรม ภูมิปัญญา และภูมิฐาน
หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) มีความสำคัญอย่างยิ่งในการ
ผลิตบัณฑิตพยาบาลที่มีสมรรถนะในการมองโอกาสและลงมือทำ (Entrepreneurship) มีการเรียนรู้ด้วย
ตนเอง มีความรับผิดชอบการเรียนรู้และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) สามารถนำความรู้มาใช้ในการประเมินภาวะสุขภาพ คิดวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของบุคคลทุกช่วงวัยและแก้ปัญหาด้วยการออกแบบบริการพยาบาลอย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นนักจัดการสุขภาพในคลินิกรายกรณี โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ และโรคติดต่ออุบัติใหม่ มีความกล้าหาญทางจริยธรรม แสดงภาวะผู้นำทำงานร่วมกับทีบทีมสุขภาพ ใช้ภาษาและติดต่อสื่อสารกับผู้รับบริการได้ชัดเจนรอบรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม เป็นนักค้นคว้าหาความรู้ และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพบริการพยาบาล และมีจิตอาสาเพื่อพัฒนาวิชาชีพและสังคม
ดังนั้น สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ จึงเน้นเรื่องทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving Skills) และการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence Base Practice)
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- มีความรู้ในศาสตร์ทางการพยาบาลและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
- มีทักษะปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ มีความไวเชิงวัฒนธรรมและเรียนรู้ตลอดชีวิต มีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น (Empathy) มีความสามารถในการแก้ปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค (Resilience)
- มีความรอบรู้ (Literacy) ในการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology) เทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ วิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล
- มีความประพฤติภายใต้กรอบจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และหลักกฎหมาย
- มีความกล้าในการคิดค้น สร้างสรรค์นวัตกรรม และมีแนวคิดความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial mindset)
- วางแผนการพยาบาลโดยประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (PLO1)
- ปฏิบัติการพยาบาลและผดุงครรภ์ที่ปลอดภัยและได้มาตรฐานวิชาชีพ (PLO2)
- แสดงออกถึงการมีคุณธรรม จริยธรรมวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพโดยคำนึงถึงความไวเชิงวัฒนธรรม (PLO3)
- สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (PLO4)
- ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ เทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศ วิจัยและนวัตกรรม (PLO5)
- ทำงานเป็นทีม (PLO6)
- คิดวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา (PLO7)
- พัฒนาวิจัยหรือนวัตกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (PLO8)
รูปแบบการจัดการเรียนการสอน
- การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem based learning)
- การเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Cooperative learning)
- การเรียนรู้แบบสืบเสาะ (Inquiry learning)
- การเรียนรู้แบบเพื่อนคู่คิด (Think-paired-share)
- การเรียนรู้แบบจิ๊กซอร์ (Jig-saw learning)
- การเรียนรู้แบบอภิปรายกลุ่มย่อย (Small group discussion)
- การเรียนรู้แบบทีมเป็นฐาน (Team based learning)
- การเรียนรู้โดยใช้เกม (Team game tournament)
- การบรรยายแบบเชิงรุก (Interactive learning)
- การเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษา (Case study)
- การเรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง (Simulation learning)
- การเรียนรู้บทบาทสมมติ (Role play learning)
ฯลฯ
การประเมินผล
- การจัดสอบกลางภาค และ/หรือประจำภาค
- การประเมินทักษะทางการพยาบาล
- การสอบทักษะทางคลินิก (Objective Structured Clinical Examination : OSCE)
- การประเมินผลรายงาน
- การประเมินทักษะปฏิบัติการพยาบาล
- การสอบอัตนัยประยุกต์ (Modified essay questions)
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
1) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญในแผนการเรียนที่เลือกเรียนวิชาเพิ่มเติมทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
2) เป็นผู้มีความประพฤติดี
3) มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือมีความผิดปกติที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
4) มีคุณสมบัติอื่นครบถ้วน ตามที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีกำหนด
August 21, 2023 - Updated on October 28, 2024